ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้ารั่ว เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลายบ้านเคยประสบ และเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนมามากมาย ฉะนั้นปัญหานี้จึงไม่สมควรถูกมองข้าม คุณควรจัดระเบียบและสร้างระบบความปลอดภัยอย่างรัดกุมให้งานเกี่ยวไฟฟ้าให้แน่นหนาที่สุด เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้งระบบไฟฟ้าในบ้านกันเลยทีเดียว แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าติดตั้งอย่างไรถึงจะปลอดภัยไม่เกิดปัญหาตามมา วันนี้มีคำตอบมาให้แล้ว ตามมาดูไปพร้อมกันได้เลย
1. การต่อสายดิน
การต่อสายดินเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงในงานเดินระบบไฟฟ้าในบ้าน บางคนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับสายดินเท่าไหร่นัก เพราะถึงจะไม่มีสายดิน เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ก็ยังใช้งานได้ตามปกติ แต่หารู้ไม่ว่าการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นโดยไร้สายดินเต็มไปด้วยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดไฟรั่วขึ้นมาขณะที่คุณใช้งานอยู่ จะทำกระแสไฟเข้าหาคุณโดยตรง แต่ถ้าคุณมีสายดินรองรับไว้ กระแสไฟเหล่านั้นจะวิ่งเข้าสู่สายดินและถูกปล่อยลงพื้นดินแทน ไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณได้
2. ใช้สวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติ
บางบ้านอาจจะมีสวิตซ์ตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติกันอยู่แล้ว เพราะสวิตซ์ตัวนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกบ้านสมควรมี หากเกิดปัญหาไฟรั่วแล้วช็อตขึ้นมา เจ้าสวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติจะทำหน้าที่ตัดไฟทั้งระบบเพื่อให้ไม่เกิดความเสียถึงขั้นไฟลัดวงจรแล้วลุกไหม้หรือช็อตคนจนเสียชีวิตได้ เรียกได้ว่ามีไว้ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ฉะนั้นเพื่อความสบายใจติดตั้งไว้เถอะ
3. ฉนวนป้องกันไฟฟ้า
ฉนวนป้องกันไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งความปลอดภัยที่คุณควรมีไว้ เพราะเจ้าฉนวนป้องกันไฟฟ้าจะช่วยห่อหุ้มสายไฟฟ้าเพื่อป้องกันการเสียหายชำรุด ฉีกขาดที่เราอาจมองไม่เห็นได้ เมื่อเราใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ อาจเผลอทำให้สายไฟฉีกขาดได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้ คุณควรหาฉนวนป้องกันไฟฟ้ามาหุ้มไว้ก่อนดีที่สุด โดยเฉพาะจุดไหนที่สุ่มเสี่ยงที่อาจจะเกิดรอยรั่วได้ เช่น บริเวณตรงขั้วต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า ขั้วหลอด ปลั๊ก ยิ่งสมควรใช้ฉนวนป้องกันเอาไว้ให้แน่นหนา
ระบบไฟฟ้าในบ้านง่าย ๆ อย่าเผลอมองข้ามเด็ดขาด! ถึงปัญหาไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าช็อตไม่เคยเกิดขึ้นก็ใช่ว่าจะไม่มีทางเกิด ดังนั้นการป้องกันเอาไว้ตั้งแต่ปัญหายังไม่เคยเกิด ย่อมดีกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วเสมอ เพราะถ้าหากเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นจริง คุณต้องพบกับความสูญเสียไม่มากก็น้อยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เริ่มต้นป้องกันตั้งแต่ติดตั้งระบบ เลือกเครื่องมือที่เหมาะสม ปลอดภัย มาไว้ในบ้านดีที่สุด อาจต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายอีกนิดหน่อย แต่เชื่อเถอะว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนแน่นอน คิดเสียว่าซื้อชีวิตที่ปลอดภัยให้คนในบ้านก็แล้วกัน
2 เคล็ดลับเช็คและซ่อมระบบไฟฟ้าในบ้านเบื้องต้นฉบับง่าย
ภายในบ้านทุกครัวเรือนสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ผู้คนดำเนินชีวิตสะดวกสบายได้นั่นคือ “ระบบไฟฟ้าในบ้าน” ไม่ว่าจะใช้พัดลม ทีวี เครื่องซักผ้า หรือหลอดไฟส่องสว่างต้องติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้นอกจากติดตั้งแล้วจะทำให้ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในความสะดวกสบายย่อมมีปัญหาเสมอ และปัญหาไฟฟ้าที่พบบ่อยในครัวเรือนคงหนีไม่พ้นเรื่อง ไฟดับ ไฟตก ปลั๊กไฟชำรุด ไม่ว่าปัญหาใดก็จามแต่ต้องมีสติเสมอ เมื่อเกิดปัญหาควรเรียกช่างในทันที แล้วถ้าหากช่างไม่ว่าล่ะ ? จะทำอย่างไร ? วันนี้จึงมีเคล็ดลับเช็ค ตรวจสอบและซ่อมระบบไฟในบ้านเบื้องต้นฉบับง่าย สำหรับใครที่ศึกษาหรือหาเคล็ดลับในเรื่องนี้ก็สามารถทำตามได้เลย โดยไม่เสี่ยงอันตราย
1. จำเช็คไฟหรือซ่อมไฟต้องปิดเบรกเกอร์ทุกครั้ง
เคล็ดลับข้อแรกเป็นเรื่องของความปลอดภัยสำหรับใครที่จะทำการซ่อมไฟไม่ควรสุ่มสี่สุ่มห้าไปดูอาการที่ปลายเหตุ ควรกลับมาดูจากต้นขั้วเสียก่อน ประการแรกคือไม่ว่าจะซ่อมไฟ หรือเชไฟควรไปปิดเบรกเกอร์ให้เป็น Off ทุกครั้งเป็นการเซฟตี้ ไปในตัว หรือเพิ่มความปลอดภัย การซ่อมไฟนั้นต้องมีสติเนื่องจากทำครั้งเดียวก็อาจจะพลาดถึงขั้นเสียชีวิตได้ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเพราะทำงานกันไม่ปิดสวิทซ์ หรือเบรกเกอร์นั่นเอง สำหรับมือใหม่ที่อยากซ่อมต้องปิดเสมอ เป็นเคล็ดลับอย่าหนึ่งที่บางท่านคิดไม่ถึง
2. ไขควงวัดไฟควรมีไว้
เคล็ดลับอีกข้อสำหรับการซ่อมระบบไฟฟ้าในบ้านคือ “ไขควงวัดไฟ” หลายคนอาจจะสงสัยว่าเป็นแค่ไขควงธรรมดาใช่หรือไม่ ต้องบอกก่อนเลยว่าไขควงธรรมดา คือไขตวงที่ไว้ใช้ในการซ่อมบำรุงในงานระดับปานกลางหรืองานง่าย ๆ เช่น ไขน็อตหรือดึงเกลียว ส่วนไขดวงวัดไฟคือใช้วัดไฟ แต่ไขควงวัดไฟยังสามารถนำไปใช้งานไขน็อตได้เหมือนกับไขควงธรรมดานั่นเอง
คุณสมบัติพิเศษคือสามารถวัดค่าไฟได้ หากสมมุติว่าวันนี้ไฟเกิดขัดข้องในบ้านของคุณเพียงหลังเดียว สามารถนำไขควงวัดไฟไปแคะดูตามสายไฟในบ้านหากยังมีไฟอยู่บริเวณด้ามบนไขควงจะมีกระแสไฟขึ้นมา หากไม่มีไฟก็จะไม่มีแสงไฟปรากฏสามารถแจ้งช่างไฟฟ้าได้ถูกต้องตรงจุดและประหยัดค่าใช้จ่าย หากจะซ่อมไฟฟ้าภายในบ้านก็สามารถใช้ไขควงเช็คไฟซ่อมได้ทันทีในกรณีที่ไฟในส่วนนั้นไม่ได้เป็นอะไรมาก เช่น มดเข้าไปทำรังสามารถแก้ไขโดยการแกะกล่องไฟและใช้ไขควงวัดไฟนำมดออกได้ทันทีเป็นต้น แต่จะซ่อมไฟทุกครั้งอย่าลืมปิดเบรกเกอร์เด็ดขาด
นี่ก็เป็น 2 เคล็ดลับง่าย ๆ ในการซ่อมระบบไฟฟ้าในบ้านหากใครที่พบเจอปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง แต่หากพบเจอปัญหาใหญ่ที่เกินความสามารถก็ควรลองเช็คอาการเบื้องต้นและทำการเรียกช่างเข้ามาดู เมื่อดูและซ่อมถูกจุดจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
บริหารจัดการอาคาร: วิธีติดตั้งระบบไฟฟ้าในบ้านให้ปลอดภัยไม่มีรั่ว อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/