ผู้เขียน หัวข้อ: การป้องกัน สายยางให้อาหารหลุด ในการให้ อาหารสายยาง  (อ่าน 94 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 556
    • ดูรายละเอียด
การป้องกัน สายยางให้อาหารหลุด ในการให้ อาหารสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง เป็นวิธีการรักษาอย่างหนึ่งของทางการแพทย์ ซึ่งจะใช้ในกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถกลืนอาหารเอง การให้อาหารทางสายยาง มีความจำเป็นในผู้ป่วยจำนวนมาก เพราะเป็นทางเลือกแรกในการให้อาหาร เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ แต่การให้อาหารทางสายยาง มักเกิดปัญหาหลายอย่างขณะที่ทำการให้อาหาร ไม่ว่าจะเป็นการติดขัดของอาหารปั่นผสมที่ให้ผู้ป่วย หรือผุ้ป่วยเกิกการสำลักอาหาร รวมไปถึง สายให้อาหารเกิดหลุด ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถือเป็นอุปสรรคต่อการได้รับอาหารของผู้ป่วย ทำให้เกิเดปัญหาต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นการได้รับอาหารที่ไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกายผู้ป่วย


สำหรับสาเหตุที่ทำให้สายยางให้อาหารหลุดนั้น เกิดได้จากภาวะการขาดดุลของอีเล็คโทรลัยต์ การอาเจียน หรือการไอ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้สายยางให้อาหารหลุด หรือบางกรณีอาจจะเป็นการดึงรั้งสายยางของผู้ป่วย ที่อาจจะมีอาการเจ็บปวด หรือรำคาญ จึงทำให้สายยางหลุดออกจากตำแหน่งที่ให้อาหาร นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความเหนียวของพลาสเตอร์ที่ใช้ยึดตัวสายยางให้อาหารที่มีความเหนียวไม่เพียงพออีกด้วย หลายปัจจัยที่ผู้ดุแลจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากที่สุด เพื่อรักษาสมดุลของระบบการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ให้เป็นปกติ

สำหรับวิธีการป้องกันสายยางให้อาหารหลุด ก็คือ อย่างแรกต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วยก่อนว่า การให้อาหารทางสายยางมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงสภาพของสายยางให้อาหารที่อยู่ภายในร่างกาย เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน และต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า หากผู้ป่วยเกิดความรำคาญ หรือมีอาการเจ็บบริเวณจุดที่สอดใส่สายยาง จะต้องแจ้งให้ผู้ดูแลหรือพยาบาลทราบ ห้ามดึงสายให้อาหารออกเองเด็ดขาด พลาสเตอร์ที่ใช้ติดเพื่อไม่ให้สายยางให้อาหารขยับจะต้องมีความเหนียวติดทนนาน เพราะถ้าหากสายยางให้อาหารเกิดเลื่อนจากตำแหน่งเดิมจะต้องรีบแจ้งผู้ดูแล เพื่อทำการแก้ไขโดยด่วน

อย่างไรก็ตามจะต้องดูแลให้ผู้ป่วยดึงรั้งสายให้อาหารขณะที่กำลังให้อาหาร เพราะอาจจะเกิดผลเสียต่อผู้ป่วยได้ ควรแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดรอบบริเวณตำแหน่งที่ให้อาหาร ต้องให้แห้งเพราะอาจจะเกิดการติดเชื้อของบาดแผลได้ ในกรณีที่มีการเจาะบริเวณหน้าท้อง และผู้ดูแลหรือพยาบาลจะต้องมีการดูดเสมหะของผุ้ป่วยก่อนการให้อาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการไอ หรือสำลักขณะให้อาหาร เพราะจะทำให้สายยางให้อาหารเกิดหลุดหรือเคลื่อนได้ และหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้ดูแลหรือพยาบาลควรเข้าให้ความช่วยเหลือทันที และทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันเวลา


หากผู้ป่วยมีอาการอาเจียน ผู้ดุแลจะต้องเข้าให้การช่วยเหลือทันที และดูแลไม่ให้สายยางให้อาหารหลุด ดูแลสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยด้วยหากผู้ป่วยมีอาหารเป็นหวัด จะต้องได้รับการรักษาทันที วิธีป้องกันเหล่านี้ถือว่า ผู้ที่ดูแลจะต้องมีความรู้พื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง เพราะการให้อาหารทางสายยางจะต้องมีความละเอียด ลออเป็นอย่างมาก ต้องคอยสังเกตอาการและพฤติกรรมของผู้ป่วยอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการให้อาหารทางสายยาง และยังจะต้องเฝ้าสังเกตอาหารผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือการติดเชื้อบริเวณบาดแผลที่ทำการเจาะเพื่อให้อาหาร แพทย์จะได้เข้ารับการตรวจและรักษาได้ทันเวลา ผู้ดูแลหรือญาติจะต้องมีการเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การรักษาความสะอาดก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก


เพราะผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง จะเกิดภาวการณ์ติดเชื้อได้ง่าย เพราะมีการใช้สายยางให้อาหาร มีการเจาะบริเวณหน้าท้อง และเสี่ยงต่อการอักเสบคิดเชื้อเป้นอย่างมาก ก่อนและหลังการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลจะต้องล้างมือทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อและความสะอาดของบาดแผลด้วย ฉะนั้นปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆจะไม่เกิดขึ้น หากผุ้ดุแลรู้วิธีการดูแลที่ถูกต้อง และทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยมากที่สุดในการให้อาหารทางสายยาง

 

ลงประกาศฟรี โฆษณาฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถ สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทสินค้าฟรี เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google